วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

           การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์นั้น หลังจากที่ได้วิเคราะห์ปัญหาจนได้ขั้นตอนวิธีการในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบรหัสลำลอง หรือผังงาน ขั้นตอนต่อไปคือการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะรับรู้คำสั่งที่เป็นภาษาเครื่องเท่านั้นและมนุษย์ไม่สามารถเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องได้โดยตรง เนื่องจากไม่สะดวก ยากต่อการทำความเข้าใจ จึงได้มีการสร้างภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงขึ้นมาเพื่อให้เข้าใจง่ายต่อการเขียนโปรแกรม ผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องเรียนรู้การทำงาน และโครงสร้างภายในของเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเขียนโปรแกรมได้โดยผ่านการแปลให้เป็นภาษาเครื่องก่อนที่จะใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ได้
          การเลือกใช้ภาษาใดเพื่อแก้ปัญหานั้น จำเป็นต้องเลือกภาษาให้เหมาะสมกับลักษณะของปัญหา เนื่องจากภาษาคอมพิวเตอร์มีมากมาย ในที่นี้จะได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญ ความเหมาะสม และตัวอย่างของภาษาที่นิยมใช้กันทั่วไปซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มเชิงกระบวนความ กลุ่มเชิงวัตถุ และกลุ่มอื่น ๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้


7.2.1 ภาษาเชิงกระบวนความ (Procedural languages)
            โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนด้วยภาษาเชิงกระบวนความมีลักษณะการทำงานตามลำดับของคำสั่ง จากคำสั่งแรกจนถึงคำสั่งสุดท้าย และบางคำสั่งอาจจะถูกทำซ้ำ หรือบางคำสั่งอาจไม่ถูกกระทำเลย ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในโปรแกรม ภาษาในกลุ่มนี้เหมาะสำหรับการเริ่มต้นทำความเข้าใจกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เนื่องจากช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการเขียนอย่างเป็นระบบ อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการเขียนโปรแกรมภาษาอื่น นอกจากนี้ในภาษาโปรแกรมประเภทอื่นก็จะยังคงมีรูปแบบการทำงานเชิงกระบวนความแฝงอยู่ภายในด้วยเสมอ การใช้งานในกลุ่มภาษานี้ เช่น งานคำนวณทางวิทยาศาสตร์อาจเลือกใช้ภาษาฟอร์แทน(FORTRAN) งานประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจการเงินหรือธนาคารอาจเลืออกใช้ภาษาโคบอล (COBOL) หรือภาษาอาร์พีจี (RPG) การเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์มักเลือกใชช้ภาษาซี เนื่องจากภาษาเครื่องที่ได้จะทำงานได้รวดเร็ว หรือการเรียนการสอนการโปรแกรมเชิงกระบวนความอาจเลือกใช้ภาษาปาสคาล (Pascal) หรือภาษาซี เป็นต้น รูปแบบที่ 7.2 แสดงตัวอย่างโปรแกรมภาษาโคบอล ซึ่งเป็นการแสดงผลคูณของตัวเลขข้อมูลเข้าสองจำนวน และรูปที่ 7.3 แสดงตัวอย่างโปรแกรมภาษาซีที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน
รูปที่ 7.2 โปรแกรมภาษาโคบอลแสดงผลคูณเข้าสองจำนวน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น