วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555



รูปที่ 7.3 โปรแกรมภาษาซีแสดงผลคูณของตัวเลขข้อมูลเข้าสองจำนวน

          ในการเขียนโปรแกรมขนาดใหญ่และซับซ้อนด้วยภาษาโปรแกรมเชิงกระบวนความ ควรแบ่งแยกโปรแกรมออกเป็นส่วนย่อย ๆ ออกเป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่า โปรแกรมย่อย เนื่องจากจะทำให้การเขียนสะดวกขึ้น การตรวจสอบ    การแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้น ในแต่ละภาษาจะเรียกชื่อโปรแกรมย่อยด้วยชื่อที่แตกต่างกัน เช่น ภาษาซี เรียกโปรแกรมย่อยว่า ฟังก์ชั่น (Function) ดังแสดงในรูปที่ 7.4 ซึ่งเป็นโปรแกรมภาษาซี ทำงานเช่นเดียวกับตัวอย่างในรูป 7.3 แต่ใช้ฟังก์ชั่นในการคำนวณค่าผลคูณ
รูปที่ 7.4 โปรแกรมภาษาซีแสดงผลคูณของตัวเลขข้อมูลเข้าสองจำนวน โดยใช้ฟังก์ชั่น
.....................................................................................................................................................................................................
เกร็ดน่ารู้ Fixed-form source code
ภาษาคอมพิวเตอร์บางภาษาซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในอดีต จะต้องเขียนให้อยู่ในรูปแบบที่แน่นอนตามข้อกำหนด   เช่น คำสั่งในภาษาฟอร์แทรนจะต้องถูกเขียนอยู่ในคอลัมน์ที่ 7 ถึง 56 เท่านั้น มิเช่นนั้นตัวแปลภาษาจะแจ้งว่า โปรแกรมภาษาผิดพลาด ภาษาเหล่านี้ถือเป็น Fixed-form source code เหตุที่ต้องกำหนดตายตัวเช่นนี้เนื่องจาก    ในยุคที่มีการเริ่มใช้ภาษาฟอร์แทรนนั้น อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าที่ใช้กันคือบัตรเจาะรู มีความกว้างจำกัดอยู่ที่ 80    คอลัมน์เท่านั้น จึงมีการกำหนดคอลัมน์ไว้เพื่อให้สะดวกในการนำโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์นั้นเอง

7.2.2 ภาษาเชิงวัตถุ (object oriented language)
 ภาษาเชิงวัตถุจะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เขียนโปรแกรมในการพัฒนาโปรแกรมที่ใหญ่และซับซ้อนได้         เป็นอย่างดีอีกทั้งยังสามารถใช้เขียนดปรแกรมในลักษณะเดียวกับภาษาเชิงกระบวนความได้เช่นกัน ภาษาใน                กลุ่มนี้ เช่น ภาษาจาวา (Java) ภาษาซีชาร์ป (C#) และภาษาซีพลัสพลัส (C++)รูปที่ 7.5 แสดงตัวอย่างโปรแกรม  ภาษาซีพลัสพลัสที่ให้ผู้เล่นทายตัวเลขที่โปรแกรมสุ่มขึ้นมาหนึ่งตัว
  รูปที่ 7.5 (โปรแกรมภาษาซีพลัสพลัส เพื่อให้ผู้เล่นทายตัวเลขที่โปรแกรมสุ่มขึ้นมาหนึ่งตัว






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น